Archive for the Uncategorized Category

Posted in Uncategorized on กุมภาพันธ์ 27, 2008 by konlasan
http://161.200.155.9/member/project/%bb%c5%d2%e2.bmp

Posted in Uncategorized on กุมภาพันธ์ 14, 2008 by konlasan

ปลาหมอสีสกุลออโลโนคารา

      ลักษณะพิเศษของรูที่ปรากฎอยู่ตามหน้าผาก แก้ม และขากรรไกรล่าง รูเหล่านี้จะเรียงเป็นแถวเช่นเดียวกับรูของเส้นข้างตัวเส้นประสาทเชื่อมโยงติดต่อกันเป็นระบบ ทำหน้าที่ในการปรับความกดดันของน้ำในขณะที่ปลาเคลื่อนไหวและใช้จับความเคลื่อนไหวของสัตว์ที่เป็นอาหารลักษณะประจำอีกอย่างหนึ่งของปลาสกุลออโลโนคารา คือ มีเกล็ดที่แก้ม 1 แถว หรือ 1 แถวครึ่ง 
     มาลาวีเหลือง ลำตัวยาวเรียว หัวมีขนาดปานกลางได้สัดส่วนกับลำตัว ตาโตและโปน ช่วงตาห่างปากเฉียงขึ้นเล็กน้อย คอดหางยาวเรียว ครีบกระโดงมีปลายเรียวยาว ส่วนปลายสุดของกระโดงยาวเกือบจรดปลายหาง ครีบหางเว้า ครีบก้นมีขนาดค่อนข้างใหญ่ตะเกียบใหญ่กว่าครีบอกและปลายตะเกียบยาวเลยจุดเริ่มของครีบหาง ลักษณะเด่นของมาลาวีเหลือง พื้นลำตัวมีสีเหลืองและแถบสีน้ำเงินขวางลำตัว 5-7 แถบ แก้มสีน้ำเงิน กระโดงสีเหลือง มาลาวีเหลืองเป็นปลาขนาดเล็ก ตัวเมียมีขนาดเล็กกว่าตัวผู้กินสัตว์น้ำขนาดเล็กในธรรมชาติเป็นอาหาร การผสมพันธุ์โดยตัวเมียอมไข่ ส่วนการเลี้ยง ผู้เลี้ยงจะให้อาหารสำเร็จรูป

     มาลาวีสีน้ำเงินคอแดง ลำตัวยาวแบนข้างหัวมีขนาดปานกลาง นัยน์ตาโต จะงอยปากสั้น ปากเฉียงขึ้นเล็กน้อย คอดหางเรียวยาว ครีบกระโดงมีความสูงไล่จากจุดเริ่มจนถึงปลายหางมีความลาดเอียงสวยงาม ปลาครีบกระโดงยื่นออกมาจรดส่วนหางครีบก้นมีขนาดใกล้เคียงกับส่วนที่เป็นก้านครีบอ่อนของครีบกระโดง ครีบหางที่ปลายเว้าเล็กน้อย ตะเกียบยาวเลยจุดเริ่มต้นของครีบก้น ครีบอกมีขนาดเล็กที่สุด 

     มาลาวีห้าสี เป็นปลาลูกผสมมีรูปร่างคล้ายมาลาวีน้ำเงินแต่หัวโตกว่า สันของสโลพหน้าครีบกระโดงนูนจะงอยปากทู่ นัยน์ตาโต คอดหางสั้น ครีบกระโดงมีส่วนปลายยาวเลยจุดเริ่มต้นของครีบก้น กินอาหารสำเร็จรูปหรือให้ไรน้ำเค็มเป็นอาหารเสริมจะช่วยให้ปลามีสีสันสดใสยิ่งขึ้น หมอมาลาวีแดง จุดเด่นของปลาหมอมาลาวีแดงอยู่ที่สีส้มแดงบริเวณส่วนต้นของลำตัวตั้งแต่ช่วงตา ถึงฐานครีบกระโดงหลังช่องเหงือกและหน้าอกโดยรอบ ลำตัวมีพื้นสีฟ้าสลับด้วยเกล็ดสีส้ม และมีแถบสีดำพาดขวางลำตัวอยู่บริเวณใต้ครีบกระโดง 7 แถบ ท้องสีส้มแก้มและจะงอยปากสีฟ้าปนน้ำเงินแซมด้วยสีแดงประกายครีบกระโดงมีฐานสีฟ้าขอบสีขาวแซมสีส้ม และปลายกระโดงมีลายสีส้ม ครีบอกสีส้ม ตะเกียบมีขอบสีขาวหรือดำ ครีบก้นสีส้มมีจุดไข่ในปลาบางตัว และครีบหางมีพื้นสีส้มแดงลายฟ้า

     หมอมาลาวีน้ำเงิน จุดเด่นของปลาหมอมาลาวีน้ำเงินอยู่ที่สีของลำตัวที่กล่าวข้างต้น นอกจากนี้ครีบกระโดงมีขอบสีขาวและปลายครีบมีสีเหลืองอมฟ้า ตะเกียบสีน้ำเงินขอบขาวครีบก้นมีฐานสีน้ำเงินดำ ตัวครีบสีน้ำเงินปนฟ้าและมีจุดสีเหลืองแซม ครีบหางมีพื้นสีเหลืองปนขาวเงินประดับด้วยจุดและประสีแดงเข้ม ดูคล้ายหางนกยูง อาหาร กินสัตว์น้ำในธรรมชาติประเภทไม่มีกระดูกสันหลัง

ปลาหมอสีสกุลแอริสโทโครมิส

Posted in Uncategorized on กุมภาพันธ์ 14, 2008 by konlasan

ปลาหมอสีสกุลแอริสโทโครมิส 

 

66.jpg

 

     ลักษณะของจะงอยปากที่เป็นสันนูนขึ้นมาคล้ายดั้งจมูกของชาวกรีก ซึ่งมีเพียง 1 ชนิดคือ ปลาหมอคริสตี้ ลักษณะลำตัวยาวแบนข้างหัวโต หน้ายาว หน้านัยน์ตาหักเป็นมุม แล้วลาดโค้งเข้าหาแนวสันของกะโหลก ตามีขนาดปานกลางคอดหางสั้น ครีบกระโดงที่ส่วนปลายเป็นก้านครีบอ่อนจะยกสูงขึ้นจากแนวของส่วนที่เป็นก้านครีบเดี่ยว ปลายกระโดงมนและยาวจรดโคนหาง ครีบอกและตะเกียบมีขนาดใกล้เคียงกัน ครีบหางมีขนาดใหญ่ ปลายครีบเกือบตัดตรง กินปลาที่เล็กกว่าเป็นอาหาร จุดเด่นของปลาหมอคริสตี้ ในระยะโตเต็มวัยมีหัวสีฟ้าคราม ลำตัวสีน้ำเงินแถบสีดำ ขอบเกล็ดสีดำ ครีบกระโดงส่วนที่เป็นก้านครีบเดี่ยวสีฟ้า ครีบก้นสีเหลือง มีจุดไข่สีฟ้า ตะเกียบสีเหลืองขอบฟ้าครีบอกเหลืองใส ตัวผู้ขนาดโตเต็มที่ความยาวสุด 30 เซนติเมตร การผสมพันธุ์ ตัวเมียอมไข่ไว้ในปาก จนกระทั่งไข่ฟักเป็นตัว ในระยะนี้แม่ปลายังคงดูแลลูกต่อไปอีกเป็นเวลา 1 เดือน การวางไข่แต่ละครั้ง ปลาจะให้ลูกประมาณ 30 ตัว

การเลี้ยงปลาหมอสี

Posted in Uncategorized on กุมภาพันธ์ 14, 2008 by konlasan

 การเลี้ยงปลาหมอสี

ปลาหมอสีเป็นปลาน้ำจืดจัดอยู่ในวงศ์ Cichlidae พวกเดียวกับปลานิล ปลาหมดเทศ ปลา ออสการ์ ปลาปอมปาดัวส์ เป็นปลาที่เลี้ยงได้ง่าย อดทน มีพฤติกรรมที่หลากหลาย ถ้าผู้เลี้ยงไม่เข้าใจพฤติกรรมของปลาหมอสีก็จะทำให้ตายได้ง่าย ฉะนั้น ก่อนเลี้ยงก็ควรศึกษาหาอ่านจากตำราการเลี้ยงปลาหมอสีก่อน ซึ่งปัจจุบันนี้มีหนังสือเกี่ยวกับปลาหมดสีทั้งเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษอยู่มากมาย ผู้เลี้ยงที่เพิ่งเริ่มต้นก็หาซื้อปลาที่มีราคาถูกหน่อยเลี้ยงหาประสบการณ์ก่อนแล้วค่อยไปซื้อชนิดราคาแพงเมื่อมีความสามารถมากขี้นแล้ว
หลักทั่วไปในการเลี้ยงหมอสีก็เหมือนกันกับการเลี้ยงปลาอื่นๆ คือ

1. น้ำต้องสะอาดไม่ควรมีเชื้อโรค ห้ามใช้น้ำประปาที่เปิดจากก๊อกน้ำโดยตรง เฉพาะคลอรีนและปูนที่อยู่ในน้ำจะฆ่าปลาได้ในเวลาอันรวดเร็วควรพักน้ำประปาไว้สัก 2-3 วันจึงนำมาใช้
2. ใช้เครื่องกรองน้ำซึ่งหาซื้อได้ตามร้านทั่วไปเลือกให้เหมาะกับขนาดของตู้
3. ขนาดของตู้เลี้ยงควรจะใหญ่สักหน่อย ถ้าเลี้ยงพวกหมอสีพันธุ์เล็ก ความยาวของตู้ไม่ควรต่ำกว่า 24 นิ้ว ถ้าเป็นพันธุ์ใหญ่ก็ไม่ควรต่ำกว่า 36 นิ้ว ควรมีสัก 2 ตู้ เพื่อเป็นตู้พักปลา 1 ตู้ ตู้เลี้ยง 1 ตู้
4. อาหารปลาหมอสีกินอาหารสำเร็จรูปได้ดี ซึ่งเราหาซื้อได้ทั่วไปแต่ถ้าที่บ้านใกล้แหล่งเพาะยุงหรือใกล้บริเวณที่มีลูกน้ำลูกไรมาก และหาได้สะดวกก็ให้ลูกน้ำ ลูกไร เป็นอาหารจะดีมากทั้งประหยัดเงินและมีอาหารที่มีคุณค่าดี
5. ก้อนหิน ก้อนกรวด พันธุ์ไม้น้ำที่เราคิดว่าจะจัดลงไปในตู้นั้นควรจะทำความสะอาดให้ดี ก้อนหินก็ควรจะแช่น้ำลดความเป็นด่างลงพันธุ์ไม้น้ำก็ควรจะพักไว้ในถังหรือตู้อื่นๆ รอจนมันฟื้นตัวได้แล้วค่อยนำมาจัดในตู้
6. ตู้ปลาควรจะตั้งอยู่ใกล้กับที่พักน้ำเพื่อเปลี่ยนน้ำในตู้ปลาได้สะดวก ปัญหานี้ดูเหมือนเล็กแต่ก็มีหลายๆรายที่เลิกเลี้ยงปลา เพราะต้องเปลี่ยนน้ำในตู้ปลาบางรายถึงขั้นทะเลาะกันเพราะเกี่ยงกันเปลี่ยนน้ำตู้ปลา บางรายถูกคำสั่งห้ามเลี้ยงหลังจากการเปลี่ยนน้ำตู้ปลาผ่านไปไม่ถึงครึ่งชั่วโมง เพราะขณะเปลี่ยนน้ำตู้ปลาบริเวณระหว่างที่พักน้ำกับตู้ปลาจะกลายเป็นเขตอันตรายสูงสุดต่อชีวิตของคนแก่และเด็ก รวมทั้งสตรีมีครรภ์ไปในทันที การลื่นหกล้มในบริเวณนี้จะเกิดขึ้นบ่อยมาก
7. เวลา ถ้าคุณต้องออกจากบ้านตั้งแต่ตีห้าครึ่งและกลับถึงบ้านประมาณไม่ถึงสี่ทุ่มดีในวันปกติ วันเสาร์ต้องตื่นสิบโมงเช้าเพื่อนอนชดเชยพอตื่นก็ต้องทำงานบ้านจิปาถะที่ค้างตั้งแต่จันทร์-ศุกร์ แล้วก็ขอแนะนำว่าไปปลูกต้นไม้ดีกว่าเพราะปลาที่คุณเลี้ยงไว้นั้นมันพากันตายหมดแล้ว ก่อนเลี้ยงปลาต้องถามตัวเองก่อนว่ามีเวลาไหม และคนรอบข้างจะยินดีไหมที่คุณจะเลี้ยงปลา เพราะคนรอบข้างนั้นก็คือคนงานของคุณขณะเปลี่ยนน้ำตู้ปลา ถ้าเกิด คนงานสไตรท์ขณะเปลี่ยนน้ำไปได้ครึ่งเดียว ภาระทั้งหมดก็จะอยู่ที่คุณคนเดียวจริงๆ
เมื่อหลัก 7 ประการนี้คุณแก้ปัญหาได้แล้ว คราวนี้ก็เริ่มลงมือเลี้ยงกันได้ สมมุติว่าตู้ปลาจัดตกแต่งเรียบร้อยแล้ว ตำราก็อ่านแล้วมีความมั่นใจ 100% ถุงใส่ปลาถูกแกะออกปลาฝูงแรกถูกปล่อยลงตู้แล้วทุกตัวพร้อมใจกันว่ายเข้าหาที่ซ่อน ไม่ต้องตกใจนั่นเป็นสัญญาณของปลา สักครู่ตัวที่กล้าหน่อยหรือตกใจน้อยหน่อยจะเริ่มว่ายน้ำสำรวจที่อยู่อาศัยใหม่ ตัวอื่นๆก็จะตามมาที่มีนิสัยรวมฝูงก็จะรวมกัน      บางตัวก็ว่ายเที่ยวแล้วแต่ชนิดและนิสัยของแต่ละตัวไม่ต้องให้อาหารวันที่สองเมื่อปลาส่วนใหญ่สงบลงแล้วเริ่มให้อาหารเล็กน้อยเป็นอาหารมีชีวิตได้ก็ดีถ้าไม่มีอาหารเม็ดก็ได้ ให้น้อยๆดูจนกว่าปลาจะกินอาหารเม็ดหมด ทิ้งไว้สัก 2-3 ชั่วโมง ถ้ามีเศษอาหารเหลือก็ให้ตักออกทิ้งไป สัปดาห์แรกผ่านไปคุณจะรู้สึกว่าตัวเองกะประมาณอาหารที่ให้ปลาได้ดีขึ้น อาหารที่ให้ไม่ค่อยเหลือซึ่งจะดีมากน้ำจะใสไม่เสีย ถ้ามีปลาตายก็รีบตักออกไปจากตู้โดยเร็ว สังเกตุด้วยว่าตายสภาพอย่างไร ถ้าครีบขาดรุ่งริ่งแสดงว่ามันกัดกัน แยกตัวที่ก้าวร้าวออกไปใส่ไว้ในตู้พักปลา ถ้าภายในสภาพตัวยังสมบูรณ์ก็เกิดจากหลายสาเหตุ และตายติดต่อกันทุกวันก็ต้องเปิดตำราและถามผู้รู้แล้วละ สัปดาห์ที่สอง-สาม-สี่ ปลาก็จะเริ่มคุ้นกับคุณแล้วละมันจะเริ่มมาหาคุณไม่กลัวคุณ ยิ่งคุณอยู่ดูมันมากเท่าใดมันก็จะยิ่งคุ้นกับคุณมากขึ้นเท่านั้น การสื่อสารระหว่างคุณกับปลาก็จะยิ่งรู้เรื่องกันมากขึ้น แต่คุณต้องไม่ลืมคนที่อยู่รอบข้างคุณนะครับ นานเข้าก็จะมีเสียงบ่นเดี๋ยวนี้ไม่รู้เป็นอะไรมัน(หมายถึงตัวคุณนะครับ) กลับจากเรียน(หรือทำงาน)แล้วก็นั่งขลุกอยู่หน้าตู้ปลาตลอด ถ้าเป็นแบบนี้คุณควรจะห่างจากปลาของคุณไปสนใจคนอื่นบ้าง แล้วหาเวลาช่วงก่อนนอนหรือคนอื่นพักผ่อนกันแล้วค่อยมาดูแลปลาของคุณ โดยสังเกตุปลาทุกตัวทีละตัว คุณจะพบว่ามันโตขึ้นมาก แข็งแรง สุขภาพดี ซึ่งเป็นความปรารถนาของคุณพอทุกอย่างเงียบสงบ คุณจะได้ยินเสียงกระซิบว่า ดูแลสุขภาพด้วยฉันก็เป็นห่วงคุณเหมือนกัน ก็พอดีได้เวลาเข้านอนรุ่งเช้าคุณตื่นขึ้นมาอย่างสดชื่นเพื่อไปเรียนหรือทำงานต่อตามเรื่องของคุณ

ยังมีเรื่องอื่น ๆ อีกมากมาย คลิกดูด้านล่างครับ


ปลาหมอสี

Posted in Uncategorized on กุมภาพันธ์ 13, 2008 by konlasan

Hello world!

Posted in Uncategorized on มกราคม 31, 2008 by konlasan

Welcome to WordPress.com. This is your first post. Edit or delete it and start blogging!